Last updated: 22 ก.ย. 2565 | 14487 จำนวนผู้เข้าชม |
หมายถึง แนวทางที่ถูกกำหนดขึ้นสำหรับสร้างผลิตภัณฑ์หรือผลิตสินค้า เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้ากลุ่มเป้าหมายและตลาดเป้าหมาย รวมถึงการวางแนวทางเกี่ยวกับการกระจายสินค้า การพัฒนาผลิตภัณฑ์ การเจาะตลาด และการขยายการลงทุนโดยการต่อยอดธุรกิจที่มีอยู่แล้ว การกำหนดกลยุทธ์ทางการตลาด เป็นวิธีการหรือแผนการที่คิดขึ้นอย่างรอบคอบ มีลักษณะเป็นขั้นเป็น
ตอน มีความยืดหยุ่นพลิกแพลงได้ตามสถานการณ์ จุดประสงค์ของกลยุทธ์ก็เพื่อเอาชนะคู่แข่งขันหรือเพื่อหลบหลีกอุปสรรคต่าง ๆ จนบรรลุเป้าหมายที่ต้องการ
ขั้นตอนการกำหนดกลยุทธ์ทางการตลาด เป็นการวิเคราะห์สถานการณ์ทางการตลาด การกำหนดตลาด และพฤติกรรมของตลาด เพื่อนำภาพรวมมาวิเคราะห์ก่อนที่จะกำหนดกลยุทธ์ทางการตลาดออกมาใช้ให้เหมาะสมกับประเภทของสินค้าหรือธุรกิจ โดยนักการตลาดและผู้ประกอบการที่ดีจะต้องเสาะแสวงหาโอกาสอยู่เสมอ เพราะการบริหารธุรกิจจำเป็นต้องปรับกลยุทธ์การตลาดให้สอดคล้องสภาพแวดล้อม และพยายามใช้ประโยชน์จากโอกาสนั้น ๆ กลยุทธ์ที่นิยมนำมาใช้บริหารด้านการตลาด โดยทั่วไปจะแบ่งออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่
กลยุทธ์เชิงรุก (SO Strategy)
กลยุทธ์เชิงป้องกัน (ST Strategy)
- กลยุทธ์เชิงแก้ไข (WO Strategy)
- กลยุทธ์เชิงรับ (WT Strategy)
- กลยุทธ์เชิงรุก (SO Strategy)
มีความสำคัญอย่างมากต่อการเติบโตของธุรกิจ เนื่องจากเป็นกลยุทธ์ที่เน้นสร้างผลลัพธ์ที่ให้ประโยชน์สูงสุดกับผู้ประกอบการหรือเจ้าของธุรกิจ เป็นการส่งเสริมความสามารถในการแข่งขันในตลาดให้ดียิ่งขึ้น เพราะเป็นการวิเคราะห์ใช้จุดแข็งร่วมกับโอกาส เพื่อให้การดำเนินธุรกิจเป็นไปอย่างก้าวกระโดด หรือที่เรียกกันว่า “ถูกที่ ถูกเวลา” ตัวอย่างเช่น เป็นผู้ประกอบการในกลุ่มอาหารฟาสต์ฟู้ด ที่มีลูกค้ากลุ่มเป้าหมายอยู่แล้ว แต่ต้องการเพิ่มยอดขายหรือขยายฐานลูกค้าออกไป กลยุทธ์เชิงรุกทำได้หลายแนวทาง ดังนี้
1.สร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง
แบรนด์หรือยี่ห้อ เป็นเรื่องของความรู้สึก เมื่อนึกถึงต้องบอกได้ว่าแบรนด์นี้มีความรู้สึกอย่างไร
เช่น สินค้าเป็นอาหารฟาสต์ฟู้ดประเภทที่ต้องรับประทานคู่กับซอส หรือน้ำจิ้มรสเด็ด กลยุทธ์เชิงรุกอาจทำได้โดยสั่งผลิตซอสหรือน้ำจิ้มเป็นแบรนด์ของผลิตภัณฑ์ นอกจากสร้างความเชื่อมั่นในตัวสินค้า ยังเสริมสร้างแบรนด์ผลิตภัณฑ์ให้แข็งแกร่งเหนือคู่แข่งทางการตลาด ปัจจุบันการสั่งผลิตซอสหรือน้ำจิ้ม ยังทำได้มียุ่งยาก เนื่องจากมีโรงงานรับผลิตซอส OEM ที่รับจ้างผลิตผลิตภัณฑ์ตามสูตรการผลิตของลูกค้าเพื่อให้ลูกค้านำไปติดแบรนด์ของตนเอง
2. สร้างเอกลักษณ์ให้โดดเด่น
กลยุทธ์เชิงรุก ด้วยวิธีการการสร้างเอกลักษณ์ให้โดดเด่น เป็นแนวทางทำการตลาดเชิงรุกที่
ใช้ได้กับธุรกิจทุกประเภทและทุกขนาด เช่น การเลือกใช้บรรจุภัณฑ์ที่การออกแบบได้โดดเด่น มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว เพื่อสร้างการจดจำให้กับลูกค้า หรือเลือกใช้กล่องกระดาษใส่อาหาร แก้วกระดาษ ถ้วยกระดาษ ที่สามารถอุ่นในไมโครเวฟได้ เป็นการสร้างเอกลักษณ์ให้กับแบรนด์ในการเลือกใช้บรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
3.การมองหาโอกาสในตลาดใหม่
การนำกลยุทธ์เชิงรุกมาใช้ในการบริหารด้านการตลาด นอกจากเป็นการส่งเสริมความสามารถ
ในการแข่งขันด้านการตลาดให้ดียิ่งขึ้นแล้ว ยังทำให้มองเห็นโอกาสทางธุรกิจที่จะช่วยสร้างความเข้มแข็งเพิ่มเติมให้กับการลงทุน เพื่อสนับสหนุนธุรกิจให้เติบโตได้ในระยะยาว ตัวอย่างเช่น การขายสินค้าประเภทของกินและเป็นธุรกิจเล็ก ๆ ทำกันเองภายในครอบครัว เมื่อสินค้าขายดีและเป็นที่ต้องการของตลาด แต่ไม่สามารถทำขายได้ทัน การมองหาโอกาสในตลาดใหม่ซึ่งเป็นการบริหารโดยใช้กลยุทธ์เชิงรุก เช่น การขายสูตรพร้อมเปิดสอนวิธีทำ หรือขายน้ำจิ้ม ขายเครื่องปรุง นอกจากเป็นการมองหาโอกาสในตลาดใหม่ ยังเป็นการต่อยอดสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่แล้ว ปัจจุบันการขายน้ำจิ้ม ขายเครื่องปรุงที่เป็นสูตรเฉพาะของเราเอง ไม่ใช่เรื่องที่ยุ่งยาก เพราะมีผู้รับผลิต บริการผลิตและบรรจุสินค้า ที่สามารถอำนวยความสะดวกให้กับผู้ประกอบการเหล่านี้ได้
การบริหารด้านการตลาดเพื่อให้สามารถสู้กับคู่แข่งขันด้านการตลาด โดยการนำกลยุทธ์ต่าง ๆ มาใช้นอกจากเพื่อช่วงชิงความได้เปรียบจากคู่แข่งแล้ว กลยุทธ์เชิงป้องกันถือเป็นเครื่องมือสำคัญในการป้องกันหรือหลีกเลี่ยงอุปสรรคที่อาจจะเกิดขึ้น เพราะการบริหารด้านการตลาดที่ดีไม่ใช่การมุ่งไปข้างหน้าเพียงอย่างเดียว แต่ยังจำเป็นต้องระมัดระวังให้รอบด้าน เนื่องจากปัญหาอุปสรรคที่ไม่ได้รับการแก้ไขอาจทำให้ธุรกิจสะดุดหรือล้มได้
ตัวอย่างกลยุทธ์เชิงป้องกัน เช่น ผู้ประกอบการหรือแบรนด์สินค้ามีความโดดเด่นและเป็นเจ้าเดียวเจ้าแรกที่เป็นเจ้าของสูตร หรือคิดค้นบรรจุภัณฑ์ที่เป็นนวัตกรรมใหม่ ๆ มาใช้กับสินค้า หากมีคู่แข่งที่เสนอผลิตภัณฑ์และนวัตกรรมที่มีความคล้ายคลึงกับของเรา ควรใช้ความเป็นเจ้าแรก เจ้าเดียวที่คิดค้น และมีประสบการณ์ที่มากกว่า รวมทั้งมีรางวัลการันตีมาใช้เพื่อเอาชนะอุปสรรคที่เกิดขึ้น เป็นการใช้จุดแข็งที่มีอยู่มาป้องกันหรือหลีกเลี่ยงอุปสรรคที่อาจจะเกิดขึ้น
กลยุทธ์ในข้อนี้ เป็นการใช้ประโยชน์จากโอกาสที่มีเพื่อลดจุดอ่อนของธุรกิจ ซึ่งอาจจะเป็นเรื่องของการผลิต กระบวนการดำเนินงานที่ไม่เป็นระบบ หรือการที่สินค้าของเรายังไม่เป็นที่รู้จักในตลาด ตัวอย่างการนำกลยุทธ์เชิงแก้ไข มาใช้ เช่น
-ผู้ประกอบการ จำหน่ายเป็นสินค้าประเภทแฮมเบอร์เกอร์ แซนวิท ใส้กรอก ที่ต้องรับประทาน
คู่กับซอส สินค้าขายดี ติดตลาด แต่เนื่องจากต้องสั่งซื้อซอสบรรจุซอง ทำให้มีต้นทุนสูง รวมทั้งซอสที่สั่งซื้อแต่ละแบรนด์มีรสชาติแตกต่างกัน ทำให้ส่งผลกระทบต่อรสชาติของสินค้า แนวทางแก้ไข เช่น สั่งผลิตซอสบรรจุซอง เป็นแบรนด์ของเราเอง
กลยุทธ์เชิงรับ มีไว้เพื่อรับมือกับสถานการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นหรือเป็นปัญหาที่มีเข้ามาเสมอ ๆ ไม่ได้ใช้เพื่อหวังมุ่งไปข้างหน้า แต่เป็นกลยุทธ์เชิงรับที่มีไว้เพื่อพยุงสถานการณ์ของที่เกิดขึ้นไม่ให้แย่ลง ด้วยการพยายามบรรเทาปัญหาหรือหลีกเลี่ยงไม่ให้ปัญหาเกิดเพิ่ม หรือทำให้เกิดความเสียหายที่รุนแรง
4.รูปแบบกลยุทธ์การตลาด และการใช้กลยุทธ์ เพื่อให้ธุรกิจอยู่รอด
กลยุทธ์ทางการตลาด และการนำกลยุทธ์ไปใช้ ผู้ประกอบการต้องมีแบบแผน หรือมีการคิด
วิเคราะห์ออกมาให้เป็นแบบแผน ว่าจะทำอย่างไรให้ธุรกิจของเรานั้นบรรลุเป้าหมายทางการตลาด การกำหนดกลยุทธ์ที่เหมาะสมจะทำให้เห็นว่าทิศทางของธุรกิจ และกลยุทธ์การตลาดของเราควรมุ่งไปที่ทิศทางใด และนำไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตัวอย่างกลยุทธ์การตลาดและการนำไปใช้อย่างไรให้ได้ผล
1.กลยุทธ์การตลาดแบบบอกต่อ
กลยุทธ์การตลาดแบบบอกต่อ คือเทคนิคทางการตลาดที่ทำการทำการตลาดโดย คาดหวังจาก
ลูกค้าที่ซื้อสินค้าไปใช้และเกิดความประทับใจจนบอกต่อคนรอบข้างไม่ว่าจะเป็นครอบครัวหรือเพื่อน หรืออาจเกิดจากการที่แบรนด์ทำคอนเทนต์การตลาดขึ้นมาได้ดึงดูดใจกลุ่มเป้าหมายจนมีคนแชร์คอนเทนต์นั้นจนทำให้คอนเทนท์กระจายเป็นวงกว้าง จุดประสงค์ของนักการตลาด เพื่อสร้างความสำเร็จการตลาดแบบปากต่อปาก บทสรุปของกลยุทธ์การตลาดแบบบอกต่อ ก็คือ “ใช้ดี บอกต่อ ทุกฝ่ายได้ประโยชน์”
2. กลยุทธ์การตลาดผ่านโซเชียล
กลยุทธ์การตลาดผ่านโซเชียล เป็นกลยุทธ์ทางการตลาดผ่านการสื่อสารรูปแบบหนึ่ง สำหรับ
ติดต่อสื่อสารไปยังกลุ่มเป้าหมาย โดยใช้หลักการด้านโฆษณา ด้านประชาสัมพันธ์ ด้านการขาย และอื่น ๆ ผ่านผู้ให้บริการด้านโซเชียล มีเดีย ต่าง ๆ ปัจจุบันสื่อสังคมออนไลน์ ทั้ง Facebook twitter linked in และอื่น ๆ ที่มีอยู่ในโลกอินเตอร์เน็ตมีบทบาทสำคัญกับวิถีชีวิตของผู้คนมากขึ้น จนกลายเป็นส่วนหนึ่งสำหรับการใช้ชีวิตของคนในสังคม ขั้นตอนการนำกลยุทธ์การตลาดผ่านโซเชียลไปใช้ มีขั้นตอนง่าย ๆ ดังนี้
ขั้นตอนการตั้งเป้าหมาย เป็นการตั้งเป้าหมายให้ชัดเจนว่าแบรนด์ต้องการอะไรในการทำการตลาดครั้งนี้ ไม่ว่าจะเพิ่มยอดขาย ขยายฐานลูกค้า หรือสร้างการรับรู้ และอื่น ๆ เพื่อวางแผนการทำการตลาดในขั้นตอนต่อไปได้อย่างถูกต้อง
ขั้นตอนการเจาะกลุ่มเป้าหมาย เมื่อเจาะกลุ่มเป้าหมายแล้วสำรวจ เพื่อทำความรู้จัก ศึกษา วิเคราะห์กลุ่มเป้าหมาย ให้ลึกซึ้งที่ไม่ใช่แค่ข้อมูลพื้นฐานทั่วไปอย่าง เพศ อายุ หรือที่อยู่ แต่รวมไปถึงความชอบ ความสนใจ สิ่งไหนที่กระตุ้นความอยากซื้อในกลุ่มเป้าหมายด้วย ยิ่งรู้จักลึกก็จะช่วยให้กลยุทธ์โซเชียลมีเดียที่สร้างขึ้นมาได้ผลดียิ่งขึ้นด้วย เพราะเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ง่ายขึ้น
ขั้นตอนการวิเคราะห์คู่แข่งแบรนด์ตัวเอง เป็นการวิเคราะห์เพื่อให้ทราบว่าคู่แข่งของเราเป็นใครบ้าง กลยุทธ์การตลาดของแบรนด์เป็นอย่างไร ข้อจุดแข็ง จัดอ่อน อย่างไร แล้วนำสิ่งเหล่านั้นมาเป็นไอเดียในการปรับใช้ในกลยุทธ์โซเชียลมีเดียของแบรนด์ เพื่อให้สามารถสู้กับคู่แข่งได้
หาแพลตฟอร์มที่กลุ่มเป้าหมายใช้งาน การหาแพลตฟอร์มที่จะใช้ในการทำกลยุทธ์โซเชียลมีเดียของแบรนด์ เป็นจุดที่สำคัญเช่นกัน เพราะหากเลือกได้ตรงตามที่กลุ่มเป้าหมายใช้งานก็จะยิ่งเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ง่ายและมากยิ่งขึ้น โดยควรทำไปในทิศทางเดียวกันเพื่อให้กลุ่มเป้าหมายจดจำภาพลักษณ์ของแบรนด์ได้ด้วย
จัดแพลนในการทำกลยุทธ์โซเชียลมีเดีย ขั้นตอนนี้คือการวางแผนในการทำการตลาดไว้ว่าจะโปรโมตอย่างไรให้เป็นไปตามแผนที่วางไว้โดยไม่มีปัญหา สิ่งที่จะทำมีอะไรบ้าง ระยะเวลาในการทำกี่เดือน กี่ปี บนช่องทางไหน สื่อสารอย่างไร หรือจะวัดผลอย่างไร และอย่าลืมแผนสำรองเผื่อไว้เมื่อเกิดปัญหาขึ้นมา
ดูผลลัพธ์แล้วปรับจุดที่ไม่เวิร์ก เป็นขั้นตอนสุดท้ายที่ต้องทำคือการติดตามผลลัพธ์ในสิ่งที่ทำว่าเป็นอย่างไร ผลตอบรับดีมากน้อยแค่ไหน มีจุดไหนบกพร่องบ้าง ควรแก้ไขในจุดไหน ทำไมถึงเกิดข้อผิดพลาดนั้นขึ้น นำมาศึกษาวิเคราะห์เพื่อปรับปรับในการทำกลยุทธ์โซเชียลมีเดียต่อไปในอนาคต
3. กลยุทธ์การตลาดกลุ่มเฉพาะ
กลยุทธ์การตลาดกลุ่มเฉพาะ เป็นการผลิตสินค้าให้แก่ผู้บริโภคเฉพาะกลุ่ม โดยผู้ประกอบการ
จะเลือกเจาะจงไปยังกลุ่มนั้น ๆ ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มเป้าหมายเดิมที่อยู่ทั่วไป หรือเป็นกลุ่มใหม่ตามเทรนด์ที่กำลังมาในช่วงนั้นก็ตาม เช่น ผู้ประกอบการมีแผนที่จะผลิตสินค้าเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ สินค้าประเภทอาหารเสริม ซึ่งปัจจุบันการเป็นเจ้าของแบรนด์สินค้าเพื่อสุขภาพหรือกลุ่มอาหารเสริมทำได้ไม่ยาก และไม่จำเป็นต้องมีโรงงานผลิต เนื่องจากผู้ประกอบการสามารถจ้างผลิตอาหารเสริม และยังมีบริษัทรับผลิตอาหารเสริม โรงงานรับผลิตอาหารเสริม ซึ่งให้บริการรับผลิตและบรรจุสินค้าแบบเบ็ดเสร็จ
4.กลยุทธ์ให้ลูกค้ามีส่วนร่วม
กลยุทธ์ให้ลูกค้ามีส่วนร่วม การมีส่วนร่วมกับลูกค้าเป็นวิธีที่แบรนด์สร้างความสัมพันธ์อย่าง
ต่อเนื่องกับลูกค้า ผ่านการโต้ตอบที่เป็นการบ่มเพาะความสัมพันธ์ ทำให้แบรนด์ต่าง ๆ สามารถส่งเสริมความภักดีที่ยั่งยืนและสร้างความตื่นเต้นให้กับลูกค้าได้ การมีส่วนร่วมของลูกค้า หมายถึงคุณภาพของการเชื่อมต่อระหว่างแบรนด์และลูกค้า ซึ่งก็คือความเกี่ยวข้องของข้อความและแรงบันดาลใจที่จุดประกายให้ลูกค้าดำเนินการ ซึ่งอาจอยู่ในรูปแบบของการที่ลูกค้าคลิกผ่านโฆษณาเพื่อซื้อสินค้าเพิ่มเติมจากแบรนด์ หรือสมัครรับจดหมายข่าว หรือติดตามแบรนด์บนโซเชียลมีเดีย การมีส่วนร่วมกับลูกค้าเช่นนี้จะช่วยส่งเสริมความรักและความภักดีต่อแบรนด์ในระยะยาวมากขึ้น
5.กลยุทธ์การแจกสินค้า
กลยุทธ์การแจกสินค้า ถือเป็นการส่งเสริมการขายรูปแบบหนึ่ง เพื่อให้ลูกค้าได้ลองใช้ ซึ่งหาก
สินค้าใช้ดี โดนใจ ก็จะทำให้ลูกค้าอยากกลับมาซื้อสินค้าหรือใช้บริการอีก เป็นการตลาดที่ลงทุนเล็ก ๆ แต่ได้ผลตอบรับคุ้มค่ามาก แต่ลักษณะการส่งเสริมการขายด้วยการ ลด แลก แจก แถม จะเป็นการส่งเสริมการตลาดเพียงชั่วคราวเท่านั้น เนื่องจากเป็นการส่งเสริมการขายในราคาที่ต่ำกว่าปกติ ทำให้มีต้นทุนสูงขึ้น กลยุทธ์การแจกสินค้าจะเหมาะกับสินค้าดังต่อไปนี้
- สินค้าทดลองตลาด แจกให้ใช้เพื่อดูผลลัพธ์ หรือผลตอบรับจากผู้ใช้ก่อนผลิตออกขายจริง
- สินค้าใหม่ ที่เริ่มวางตลาดและยังไม่มีใครรู้จัก
- แจกให้ทดลองใช้ เพื่อลดจำนวนสินค้าคงคลัง ที่เหลือจากการขายไม่หมด
6.กลยุทธ์การให้ส่วนลดลูกค้า
กลยุทธ์การให้ส่วนลดลูกค่า เป็นโปรโมชั่น ที่ผู้ประกอบการหรือเจ้าของแบรนด์ผลิตภัณฑ์จัด
ให้ ในรูปแบบของการตอบแทนลูกค้าเก่า และ พยายามเอาชนะคู่แข่ง ด้วยการ คืนเงินกลับไปให้กับลูกค้า ในรูปแบบของ ส่วนลด เมื่อซื้อสินค้าในครั้งถัดไป
7.กลยุทธ์การให้ส่วนลดกระตุ้นให้ซื้อซ้ำ
กลยุทธ์การให้ส่วนลดกระตุ้นให้ซื้อซ้ำ เป็นการส่งเสริมการขาย เช่น จัดโปรโมชั่น ในช่วงเวลา
จำกัด ด้วยการให้ส่วนลดเพื่อดึงดูดให้ลูกค้าเกิดความสนใจและตัดสินใจซื้อสินค้ามากขึ้นหรือกลับมาซื้อซ้ำอีก หรือเป็นกลยุทธ์ที่กระตุ้นให้ลูกค้าเกิดการซื้อซ้ำได้โดยลูกค้าอาจเกิดความต้องการสะสมแสตมป์ไว้แลกของที่ต้องการ ทำให้ผู้ประกอบการสามารถขายของได้มากขึ้น และอาจมีลูกค้าประจำกลุ่มหนึ่ง โดยผู้ประกอบการสามารถกำหนดเงื่อนไขสินค้าที่ลูกค้าสามารถแลกซื้อได้ตามความเหมาะสม
8. กลยุทธ์การแข่งขันชิงโชค
กลยุทธ์การแข่งขันชิงโชค เป็นการสร้างยอดขาย และดึงดูดลูกค้าให้มาสนใจสินค้าหรือ
ผลิตภัณฑ์ เช่น การจับฉลากเพื่อมอบรางวัลให้กับผู้โชคดี และทำการถ่ายภาพลูกค้าคู่กับสินค้า ทำป้ายประชาสัมพันธ์ขนาดใหญ่ ก็จะช่วยกระตุ้นให้กลุ่มลูกค้าเกิดความสนใจและอยากมาซื้อสินค้ามากขึ้น นอกจากนั้นประโยชน์ที่แท้จริงของการออกโปรโมชั่นชิงรางวัล ก็คือการสร้างโอกาสทางการขายให้เพิ่มขึ้น และยังเป็นเครื่องมือโปรโมทแบรนด์ ที่มีประสิทธิภาพสูงมาก
9.กลยุทธ์การบรรจุภัณฑ์
กลยุทธ์การบรรจุภัณฑ์ เป็นกลยุทธ์เกี่ยวกับการตัดสินใจเลือกรูปแบบของบรรจุภัณฑ์ และ
ประเภทวัสดุบรรจุภัณฑ์ที่จะใช้กับสินค้าใหม่ที่ผลิตออกสู่ตลาด หรือต้องการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงรูปลักษณ์ของสินค้าใหม่ ด้วยการเปลี่ยนรูปแบบบรรจุภัณฑ์ กลยุทธ์การบรรจุภัณฑ์
-บรรจุภัณฑ์นั้น เหมาะสมกับสินค้าหรือไม่
-สินค้าเมื่อนำไปจัดวางบนชั้นจำหน่ายแล้ว มีความโดดเด่น ได้เปรียบหรือไม่
- บรรจุภัณฑ์มีความสวยงามหรือไม่
- บรรจุภัณฑ์สามารถปกป้องสินค้าได้หรือไม่
- บรรจุภัณฑ์มีความสะดวกต่อการใช้งานหรือไม่
- บรรจุภัณฑ์สามารถนำมาส่งเสริมการตลาดได้หรือไม่
-บรรจุภัณฑ์สามารถสะท้อนบุคลิกภาพของสินค้าได้หรือไม่
- บรรจุภัณฑ์สามารถบอกวิธีการใช้สินค้าได้หรือไม่
- บรรจุภัณฑ์มีลักษณะเชิญชวนให้ใช้งานหรือไม่
- บรรจุภัณฑ์สามารถดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมได้หรือไม่
กลยุทธ์ผลิตภัณฑ์ เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับตัวสินค้า และสิ่งที่ต้องนำมาพิจารณาเพื่อให้เป้าหมายของผลิตภัณฑ์ มีความชัดเจน สามารถวางแผนกิจกรรมให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีต่อการแข่งขันด้านการตลาด ซึ่งมีหลายแนวทางที่สามารถเลือกมาใช้ได้ตามความเหมาะสมกับธุรกิจ หรือเหมาะสมกับประเภทสินค้า เช่นกลยุทธ์ต้นทุนต่ำ การมีต้นทุนต่ำในการผลิตจะช่วยให้มีศักยภาพในการแข่งขันสูง ผู้ประกอบการที่ มีวิสัยทัศน์ จะทำความเข้าใจกับวงจรชีวิตของสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ ซึ่งประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ
1.จุดเริ่มต้น คือขั้นตอนที่ผลิตภัณฑ์หรือสินค้าถูกนำเข้าสู่ตลาดครั้งแรก
2.การเติบโต เป็นช่วงที่สินค้าได้รับความนิยมหรือเป็นที่รู้จัก ที่เรียกกันว่า “สินค้าติดตลาด”
3.เข้าสี่จุดอิ่มตัว อาจเป็นช่วงที่มีสินค้ารูปแบบเดียวกันหรือคล้ายกันออกสู่ตลาด ทำให้ลูกค้า
หรือกลุ่มผู้บริโภคหันไปให้ความสนใจสินค้าใหม่ ๆ
4.ความล้าสมัย จากจุดเริ่มต้นที่สินค้านำเข้าสู่ตลาด ความยาวของวงจรชีวิต หรือระยะเวลา
ของสินค้าแต่ละชนิดก็จะแตกต่างกัน และสินค้าบางประเภทก็อาจเข้าสู่ขั้นตอนสุดท้าย คือความนิยมลดลงจากความล้าสมัย เนื่องจากความแปลกใหม่จากสินค้าของคู่แข่งด้านการตลาดเริ่มเข้ามา เว้นแต่ผู้ประกอบการหรือเจ้าของแบรนด์ผลิตภัณฑ์มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง กลยุทธ์ความแตกต่าง ความแตกต่างของสินค้าและบริการจะช่วยสร้างโอกาสทางธุรกิจ และสร้าง
มูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าและบริการของเรา สินค้าหรือผลิตภัณฑ์ประเภทเดียวกันมีกระบวนการผลิตเหมือนกัน เช่น สินค้าเป็นแฮมเบอร์เกอร์ที่ต้องรับประทานคู่กับซอสต่าง ๆ หากซอสที่ใช้เป็นแบรนด์ผลิตภัณฑ์ของเราเองที่สั่งจากโรงงานรับผลิตซอส ในขณะที่คู่แข่งทางการตลาดใช้ซอสสำเร็จรูปตามท้องตลาดทั่วไป
กลยุทธ์ความหลากหลาย ความหลากหลายของสินค้าและบริการจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการตลาดโดยรวม เช่น การมีสินค้าที่หลากหลายให้ครอบคลุมทุกความต้องการที่แตกต่างกันของลูกค้า เพื่อให้ลูกค้าแต่ละคนมีทางเลือกมากขึ้น และสามารถตอบสนองความต้องการลูกค้าให้ตรงจุดที่สุดมากกว่าคู่แข่งขัน
เรื่องของราคาสินค้าหรือราคาผลิตภัณฑ์ เป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อของลูกค้าอย่างมาก และไม่การพิจารณาเลือกซื้อของลูกค้าผู้บริโภคส่วนหนึ่งยังไม่ได้ขึ้นอยู่กับราคาสินค้าที่ขายถูกหรือแพงเท่านั้น แต่ยังมีหลาย ๆ ปัจจัยประกอบ สำหรับกลยุทธ์ด้านราคานิยมนำมาใช้ใน 4 แนวทาง ดังนี้
1.กลยุทธ์ราคาประหยัด เป็นการตั้งราคาต่ำ สำหรับสินค้าคุณภาพต่ำ เพื่อให้สามารถแข่งขันได้ใน
ตลาด สินค้าครอบคลุมกลุ่มลูกค้าที่มีกำลังซื้อแตกต่างกัน
2.กลยุทธ์ราคาเจาะตลาด เป็นการตั้งราคาสินค้าสำหรับสินค้าคุณภาพดี คุณภาพสูง โดยมีจุดประสงต์เพื่อต้องการเจาะตลาดให้รวดเร็วยิ่งขึ้น
3.กลยุทธ์ราคาสูง ราคาแพง เป็นการตั้งราคาสินค้าและบริการ ที่คุณภาพไม่สูงนัก แต่ตั้งราคาสูงไว้ในช่วงเริมต้น เพื่อนำมาใช้ในการส่งเสริมการขายในลักษณะของการลดราคาในภายหลัง
4.กลยุทธ์ราคาแบบสินค้าคุณภาพ เป็นการตั้งราคาสินค้าและบริการให้สูงไว้ ซึ่งเป็นกลุ่มสินค้าที่
มีคุณภาพสูง สำหรับกลุ่มลูกค้าเป้าหมายในตลาดระดับสูง กลยุทธ์ด้านการจัดจำหน่าย เป็นกลยุทธ์ที่ผู้ประกอบกาใช้พิจารณาเพื่อกำหนดช่องทางในการกระจายสินค้าที่สามารถส่งผลกำไรโดยรวมต่อธุรกิจ โดยช่องทางการจัดจำหน่ายในปัจจุบันมีอยู่สองรูปแบบ ได้แก่
1.การขายสินค้า โดยผ่านพ่อค้าคนกลาง
2.การขายสู่ผู้บริโภคโดยตรง ซึ่งช่องทางการขายสู่ผู้บริโภคโดยตรงนั้น จะสามารถสร้างผลกำไรได้สูง
3.จำหน่ายทั้ง 2 รูปแบบ เพื่อให้สามารถกระจายสินค้าเข้าสู่ตลาดและจำหน่ายไปยังลูกค้า
เป้าหมาย อาจจะเลือกใช้ทั้ง 2 รูปแบบในลักษณะของหลากหลายช่องทาง ทั้งการเปิดหน้าร้าน ขายออนไลน์ หรือขายส่งตัวแทน ซึ่งสามารถทำได้หลากหลายรูปแบบและหลายช่องทาง
เป็นแผนส่งเสริมด้านการตลาดที่ต้องอาศัยกิจกรรมการตลาดในรูปแบบต่าง ๆ ให้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายและสถานการณ์ปัจจุบัน นอกจากนั้นการใช้กลยุทธ์ส่งเสริมการตลาด ยังขึ้นอยู่กับผู้ประกอบการว่าต้องการส่งเสริมการตลาดในด้านใด ระดับใด แล้วจึงกำหนดกลยุทธ์ ต่าง ๆ มาใช้งานให้เหมาะสม การส่งเสริมการตลาดจะประกอบด้วย 3 กลยุทธ์ ดังนี้
1.กลยุทธ์ดึง เป็นการจัดกิจกรรมทางการตลาดโดยการโฆษณาและการส่งเสริมการขาย เช่น การ
จัดแสดงสินค้า การแลกซื้อ การแจกของตัวอย่าง เป็นต้น ซึ่งจะมุ่งสู่ผู้บริโภคเพื่อให้เกิดความสนใจและต้องการสินค้า แล้วไปถามหาหรือซื้อสินค้าจากคนกลางที่เป็นผู้ค้าปลีกหรือผู้ค้าส่ง ขณะเดี่ยวกันคนกลางก็เกิดความต้องการสินค้าจากผู้ผลิต
2.กลยุทธ์ผลัก เป็นการผลักสินค้าของผู้ผลิตไปสู่คนกลาง โดยอาศัยพนักงานขายให้เป็นผู้ผลักดัน
สินค้าไปตามช่องทางการจัดจำหน่าย ซึ่งจะต้องใช้การกระตุ้นพนักงานขายโดยเสนอผลตอบแทนต่าง ๆ เพื่อให้พนักงานขายเกิดความพยายามในการขายสินค้าให้มากขึ้น เช่น การให้เงินรางวัลพิเศษกับพนักงานขายที่ทำยอดขายได้สูง การเลื่อนตำแหน่ง เป็นต้น
3.กลยุทธ์ผสม เป็นการใช้กลยุทธ์ผลัก-ดึงรวมกันกล่าวคือใช้การส่งเสริมการขายที่มุ่งสู่ผู้บริโภค
ร่วมกับการส่งเสริมการขายที่มุ่งสู่คนกลางและพนักงานขาย เช่น การประกวดจัดร้านคูปอง หรือสิ่งจูงใจอื่น ๆ ผลักให้ร้านค้าปลีกนำสินค้ามาโชว์ ขณะเดียวกันก็ใช้การชิงโชค ของแจก ของแถม เพื่อดึงให้ลูกค้า มาซื้อสินค้าที่ร้าน กลยุทธ์การตลาด เป็นเสมือนหัวใจของทุก ๆ ธุรกิจ เนื่องจากเป็นแนวทางที่จะช่วยเพิ่มโอกาสการ
เติบโตไปในทิศทางที่ถูกต้อง เห็นได้จากองค์กรธุรกิจ ผู้ประกอบการ และร้านค้า ทุกรูปแบบ ทุกขนาด หากมีการวางแผนการตลาดและมีการนำกลยุทธ์มาปรับใช้ก็จะสามารถส่งเสริมยอดขาย หรือนำมาใช้ในการดึงดูดลูกค้าและสร้างรายได้รวมถึงผลกำไรให้กับแบรนด์หรือธุรกิจได้อย่างเห็นผลลัพธ์ เพียงศึกษาข้อมูลและเลือกใช้กลยุทธ์ให้ถูกต้องและเหมาะสมกับประเภทของสินค้าหรือผลิตภัณฑ์เท่านั้น
ปัจจุบันการเป็นเจ้าของแบรนด์สินค้า ไม่ใช่เรื่องที่ยุ่งยาก และไม่จำเป็นต้องมีโรงงานผลิตเป็นของ
ตนเอง เพราะมีบริษัทรับจ้างผลิต OEM โรงงานรับผลิตสินค้า ที่ให้บริการรับผลิตสินค้าหลากหลายประเภท ทั้งเครื่องอุปโภคบริโภค อาหาร และเครื่องดื่ม รวมทั้งสินค้าเพื่อสุขภาพและความงาม ก็ยังมี รับผลิตเครื่องดื่ม รับผลิตอาหาร และโรงงานรับผลิตอาหารเสริมให้บริการ
คำว่า OEM ย่อมาจากคำว่า Original Equipment Manufacturer หมายถึง การผลิตสินค้าให้กับผู้
ซื้อ โดยไม่มีตราสินค้า ผู้ผลิตจะรับจ้างผลิตสินค้าให้กับแบรนด์ต่าง ๆ ตามที่ผู้ซื้อหรือผู้ว่าจ้างกำหนด แล้วติดชื่อแบรนด์ของผู้ซื้อ หรืออาจจะไม่ติดเลยก็ได้ขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ซื้อ โดยใช้กระบวนการผลิตของโรงงานผู้ผลิต ตั้งแต่การคิด วางแผน ออกแบบ ใช้เครื่องจักรในการผลิต ซึ่งจะช่วยให้ผู้ซื้อประหยัดต้นทุน ประหยัดค่าใช้จ่ายในการวางแผนจัดการโรงงานผลิต และไม่ต้องแบกรับความเสี่ยงการลงทุนการผลิตอีกด้วย
สินค้า OEM คือ สินค้าหรือผลิตภัณฑ์ ที่ว่าจ้างโรงงานอื่นผลิตสินค้าในแบรนด์ตัวเอง ลักษณะ
ของโรงงานที่รับผลิตสินค้าแบบนี้ก็คือ โรงงานมีเครื่องจักรที่ใช้ในการผลิตอยู่แล้ว และรับผลิตสินค้าให้กับลูกค้าเพื่อนำไปติดแบรนด์ที่มีอยู่แล้วของลูกค้า สินค้าที่จ้างผลิตมีหลากหลายประเภท ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการจ้างผลิตเพื่อสร้างเบรนด์สินค้า เช่น แบรนด์อาหารเสริม เครื่องสำอาง ซอส และเครื่องปรุง ที่เป็นสูตรของผู้ว่าจ้าง ชิ้นส่วนรถยนต์ และอื่น ๆ โรงงานผลิตแบบ OEM ส่วนใหญ่เป็นโรงงานผลิตที่ไม่เน้นการสร้างแบรนด์ แต่เน้นผลิตให้กับแบรนด์อื่น ๆ ที่ต้องการการผลิตน้อย และไม่จำเป็นต้องมีโรงงานผลิตของตนเอง
สำหรับโรงงานรับจ้างผลิต OEM หรือรับจ้างผลิต OEM เป็นการรับผลิตสินค้าแบบครบวงจร
เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้ประกอบการหรือนักธุรกิจรายใหม่ที่ต้องการมีแบรนด์สินค้าเป็นของตัวเอง โดยเริ่มตั้งแต่ การคิดค้นสูตร หากผู้ว่าจ้างต้องการ การออกแบบบรรจุภัณฑ์ การให้คำแนะด้านการตลาด การจัดหาวัตถุดิบ การจัดส่งสินค้าไปยังคลังสินค้า
- ช่วยลดต้นทุนการผลิตให้กับเจ้าของแบรนด์
-เจ้าของแบรนด์ไม่จำเป็นจะต้องมีโรงงานเป็นของตัวเอง
-ใช้เงินทุนในการผลิตไม่มาก
-ทำให้ง่ายต่อการเปลี่ยนลักษณะหรือกลยุทธ์ทางธุรกิจ
- มีผู้เชี่ยวชาญและที่ปรึกษาทางการผลิตคอยดูแล
- เจ้าของแบรนด์ขนาดเล็กไม่ต้องแบกรับความเสี่ยงในการดูแลกระบวนการผลิต
- หากเป็นสินค้าทั่วไปและใช้สูตรกลาง สินค้าและคุณภาพอาจจะไม่แตกต่างจากแบรนด์อื่น ๆ
- กรณีสินค้าเป็นสูตรเฉพาะของผู้ว่าจ้าง การจ้างผลิตก็มีความเสี่ยงที่ OEM จะรู้สูตร รู้ขั้นตอน
การผลิตทุกอย่างแล้วทำสินค้าเลียนแบบออกมาขายแข่งในตลาด
- ต้นทุนการผลิตสูงกว่าการผลิตเอง
- กรณีมีการเปลี่ยนโรงงานผลิต อาจจะทำให้การผลิตผลิตภัณฑ์นั้นเปลี่ยนไปทำให้ผลิตภัณฑ์
คุณภาพได้ไม่เหมือนเดิมจาก สภาพแวดล้อม เครื่องจักรที่ใช้ ปัจจัยในการผลิตต่าง ๆ ที่จะทำให้คุณภาพเปลี่ยนไป
3.สิ่งที่ควรรู้ ก่อนว่าจ้างผลิตสินค้า จากโรงงาน OEM
สำหรับพ่อค้าแม่ค้าที่ต้องการมีสินค้าและมีแบรนด์ผลิตภัณฑ์เป็นของตนเอง โดยไม่จำเป็นต้อง
มีโรงงานผลิตหรือไม่ต้องผลิตสินค้าเอง แต่เลือกใช้บริการจากโรงงานรับผลิตสินค้า หรือการผลิตแบบ OEM ซึ่งทำได้ไม่ยากเพราะมีบริษัทหรือโรงงาน รับผลิตมากมายให้เลือกใช้บริการ แต่สิ่งหนึ่งที่ผู้ประกอบต้องนำมาพิจารณาประกอบก่อนตัดสินใจว่าจ้างผู้ผลิต OEM ก็คือรายละเอียดต่าง ๆ ได้แก่
- ประเภทของโรงงานรับผลิต
- รายละเอียดและความสำคัญของการจ้างผลิตแบบ OEM
- สิ่งที่ควรตรวจสอบเมื่อจะจ้าง OEM
13 พ.ค. 2566
23 มิ.ย. 2566